บทความทางการแพทย์

สัญญาณเตือนของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน(หัวใจวาย)


ในแต่ละปี มีคนอเมริกันประมาณ 715,000 คน ที่ประสบกับโรคหัวใจวาย และเสียชีวิตประมาณ 162,000 ราย และกว่าครึ่งของผู้เสียชีวิต เสียชีวิตทันทีก่อนถึงโรงพยาบาล แม้โรคหัวใจวายจะเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ถ้าคุณเรียนรู้สัญญาณอันตรายของโรค และวิธีการปฎิบัติ จะสามารถช่วยชีวิตได้ ซึ่งบางทีอาจเป็นตัวคุณเอง ในขณะที่เกิดหัวใจวายกำเริบ เส้นเลือดแดงหลักของหัวใจเกิดการอุดตัน และในไม่กี่นาที กล้ามเนื้อหัวใจจะเริ่มตาย ในทางเทคนิคเราเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจตาย Acute ( Myocardial Infarction) หากปล่อยไว้ไม่รับการรักษาจะทำให้อาการร้ายแรง บางส่วนของหัวใจที่ตายระหว่างหัวใจวาย ไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมหรือซ่อมแซมได้

หากโชคดี การใช้ยาสลายลิ่มเลือด หรือการรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจ เช่น การผ่าตัดสวนหัวใจ (บ่อยครั้งการใส่ stent ซึ่งจะช่วยในการเปิดหลอดเลือดหัวใจหลังทำหัตถการ ) จะป้องกันโรคหัวใจวายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่หลังจากเกิดโรค จะสามารถป้องกันและจำกัดความเสียหายต่อหัวใจได้ ยิ่งรักษาเร็วจะดีต่อคนไข้ มีโอกาสหายและฟื้นตัวได้เร็ว การรักษาจะมีประสิทธิภาพถ้าเริ่มรักษาในชั่วโมงแรกหลังพบอาการ ประโยชน์ของการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงหัวใจ จะลดลงตามเวลาที่ผ่านไปหลังจากเกิดอาการของโรค

เรียนรู้สัญญาณเตือนของโรค

หลายคนคิดว่าโรคหัวใจวายเป็นโรคร้ายแรงและเฉียบพลัน คิดว่าคนที่มีอาการของโรคหัวใจวาย คือ คนที่จับหน้าอกแล้วล้มลงไปนอนกับพื้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลายๆครั้งที่โรคหัวใจจะเริ่มจากอาการแน่นตรงกลางหน้าอก ดังนั้นบางคนที่มีความรู้สึกไม่เหมือนกับอาการอย่างในหนังฮอลลีวู้ด จึงไม่แน่ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด อาการแน่นหน้าอก(และอาการอื่นๆ) อาจเป็นๆหายๆ แม้แต่คนที่เป็นโรคนี้อาจไม่ตระหนักถึงสัญญาณอันตรายนี้ เพราะอาการต่อมาอาจมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง

สัญญาณเตือนโรคหัวใจวาย

  • แน่นหน้าอก : โรคหัวใจวายส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาการแน่นหน้าอก มักเกิดนานกว่า 2 – 3 นาที หรือเป็นๆหายๆ อาจรู้สึกเหมือนถูกกด บีบ และแน่นๆ ทำให้รู้สึกไม่สบาย
  • อาการเกิดบริเวณส่วนบนของร่างกาย : รวมถึงการเจ็บบริเวณหลังแขนข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง คอ ขากรรไกร หรือ ท้อง
  • หายใจสั้นลง : มักเกิดตามอาการแน่นหน้าอก หรือเกิดก่อนอาการแน่นหน้าอกได้
  • สัญญาณอื่นๆ : ตื่นกลัว , คลื่นไส้ และปวด

ใครที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจวาย

มีหลายคนคิดว่า โรคหัวใจวายเป็นปัญหาของผู้ชาย แต่โรคหัวใจวายคร่าชีวิตทั้งผู้ชายและผู้หญิง เป็นอันดับหนึ่งของอเมริกา ในผู้ชายความเสี่ยงเกิดโรคเริ่มตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ส่วนในผู้หญิง มักเกิดกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (50 ปีขึ้นไป) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่อายุน้อยกว่าที่กล่าวมา ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายทั้งสิ้น นอกจากอายุแล้ว ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายมีดังนี้

  • มีประวัติหัวใจวายหรือผ่านการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • ครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยๆพ่อหรือพี่ชาย เป็นโรค ก่อนอายุ 55 ปี แม่หรือน้องสาว เป็นโรค ก่อนอายุ 65 ปี
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในหลอดเลือดสูง
  • ความดันโรหิตสูง
  • สูบบุหรี่
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ไม่ออกกำลังกาย

ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง 1ข้อ หรือมากกว่านั้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจ และลดความเสี่ยงการเกิดโรค แม้ไม่มั่นใจว่าเป็นโรคหัวใจวายหรือไม่ ควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ นั่นหมายรวมถึงอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการใหม่ หรืออาการเดิมที่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากอาการเดิม (เช่น อาการของโรครุนแรงขึ้น ถี่ขึ้นและนานกว่าปกติ)


เวลา คือ ทุกสิ่ง ทุกคนที่มีสัญญาณอันตรายควรได้รับการตรวจ และรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ควรเกิน2-5 นาทีในการโทรเรียกรถพยาบาล ถ้าแพทย์สั่งยา Nitroglycerin จากอาการแน่นหน้าอกจากการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง และอาการนั้นหายไปเมื่อได้พัก (เป็นอาการที่เรียกว่าภาวะการเจ็บหน้าอก หัวใจที่ปกติแล้วเกิดจากการอุดตัน บางส่วนของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ 1 เส้นหรือมากกว่า คุณอาจจะรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งก่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน5นาที คุณควรโทรเรียกรถพยาบาลทันที และไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคหัวใจวายหรือไม่


ในอดีตคนไข้มักเข้าใจว่าให้ทานยา Nitroglycerin 1 เม็ด ทุก 5นาที ให้ครบ 3โดส ถ้าอาการไม่ดีขึ้นค่อยไปพบแพทย์ ซึ่งอาการนี้มีการปรับเปลี่ยนลดลงเหลือเพียง 1 โดส และรอนานมากสุด 5นาที ให้สังเกตุอาการว่าดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีขึ้น คนไข้ควรถูกนำส่งรพ.โดยเร็วที่สุด เพื่อขยายเส้นเลือดหัวใจ และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต


การโทรแจ้ง 1772 และใช้รถพยาบาลเพื่อให้คุณถึงโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด นอกจากนี้ประโยชน์ในการโทรแจ้งรถพยาบาล มีดังนี้

- คนไข้สามารถเริ่มการรักษาแม้ยังไม่ถึงโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน
- หัวใจของคุณอาจหยุดเต้นตอนหัวใจวาย จนท.ฉุกฉินที่มีความรู้และความสามารถ ใช้เครื่องมือให้หัวใจกลับมาเต้นได้
- คนไข้หัวใจวายหากมาโรงพยาบาลโดยใช้รถพยาบาล โ จะสามารถเข้ารับการรักษาได้เร็วกว่า เมื่อถึงโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณมีอาการหัวใจวายและไม่สามารถโทรแจ้งรถพยาบาลได้ ควรให้ผู้อื่นขับพาไปส่งโรงพยาบาล เพราะอาจหมดสติขณะขับรถได้ โรคหัวใจ คือ เรื่องใกล้ตัว ควรใส่ใจดูแลและศึกษาข้อมูลเพื่อดูแลตนเองและคนที่คุณรัก


หัวใจของเราเป็นอวัยวะหนึ่งที่ทำงานหนักที่สุดตลอดชีวิต ดังนั้นหากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเหล่านี้เกิดการตีบ หรืออุดตัน หรือมีการหดตัวอย่างรุนแรงและเป็นเวลานาน ก็จะนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นเสียหาย จากการขาดออกซิเจนและสารอาหาร เมื่อนานเข้าก็เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถคืนดีดังเดิมได้ กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายจะหยุดทำงาน ผู้ป่วยอาจเกิดหัวใจวายและหากรุนแรงอาจเสียชีวิต


ดังนั้นโรคหัวใจจึงเป็นโรคที่จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแปลบบริเวณหน้าอก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดกรามหรือใจสั่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ไขมันในเลือดสูง จึงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์สามารถรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายน้อยที่สุด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

ในปัจจุบัน การเปิดหลอดเลือดหัวใจทำได้หลายวิธี ขึ้นกับระยะเวลาที่เป็น, ความพร้อมของสถานบริการ และความรุนแรงของผู้ป่วย โดยวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ได้แก่

1. การให้ยาละลายลิ่มเลือดซึ่งสามารถให้การรักษาได้ทุกแห่ง ถ้าไม่มีข้อห้ามใช้ยา โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมาถึงแพทย์ ภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ และยังให้ผลดีบ้าง ถ้าได้รับยาภายใน 6 ชั่วโมง ปัจจุบันเรามียาละลายลิ่มเลือดตัวใหม่ ชื่อ “ Tenecteplase” ซึ่งเป็นยาละลายลิ่มเลือดที่ออกฤทธิ์เร็ว มีประสิทธิภาพในการเปิดหลอดเลือดได้ดี เมื่อเทียบกับยากลุ่มเดิม สามารถลัดเข้าหลอดเลือดดำทันทีไม่ต้องเตรียม ไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้ลดระยะเวลาที่เสียไประหว่างรอการรักษา

2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ร่วมกับการฝังขดลวดค้ำยัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ดีและได้ผลรวดเร็ว ซึ่งอาจทำได้เลยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงหรือมีข้อจำกัดไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ หรือในกรณีที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ แต่มีข้อจำกัดที่สถานให้บริการจะต้องพร้อม ทั้งห้องตรวจสวนหัวใจ ทีมแพทย์พยาบาล ที่มีความชำนาญ

ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการดังกล่าว จึงควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจให้ได้มากที่สุด

  นพ.จีระศักดิ์ สิริธัญญานนท์
อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 3 
โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
โทร 02-467-1111 ต่อ 3290
Contact Us
โรงพยาบาลพญาไท 3
  • 111 ถนนเพชรเกษม แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
  • 66-(0)2-467-1111
  • [email protected]
Copyrights ©2015 www.phyathai.com